วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระบบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์


ในปัจจุบันคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตบางส่วน เมื่อจะหาซื้อสินค้า หลายคนมักจะเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อทำการตรวจสอบราคาสินค้า หรือทำการเลือกซื้อสินค้า ก่อนไปทำการเลือกซื้อจริง หรือบางคนก็ทำการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงผ่านหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า และยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน และยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าตามท้องตลาดทั่วไปอีกด้วย ด้วยรูปแบบของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่เกิดขึ้นในเมืองไทยมีหลายรูปแบบได้แก่ เว็บไซต์ แค็ตตาล็อกออนไลน์ (E-Catalog), เว็บไซต์ร้านค้าสั่งทำ (E-Tailor), เว็บไซต์ประกาศซื้อ-ขาย (E-Classfieds), เว็บไซต์ประมูลสินค้า (E-Auction) และเว็บไซต์ตลาดกลาง (E-Marketplace) เว็บไซต์แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างทั้งในด้านลักษณะและรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งผู้ซื้อสามารถเข้าไปเลือกดูสินค้าตามเว็บเหล่านี้ได้ โดยเว็บไซต์ค้าขายในเมืองไทยส่วนใหญ่ ยังคงเป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของแค็ตตาล็อกออนไลน์ ที่ภายในเว็บไซต์จะมีเพียงรูปภาพและรายละเอียดสินค้า ไม่มีระบบการชำระเงิน และการขนส่ง เว็บไซต์ที่เปิดขึ้นมาเป็นเพียงหน้าร้านที่ต้องการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น หากใครต้องการซื้อสินค้า จะต้องทำการติดต่อกับร้านค้าเอง นอกจากนี้ รูปแบบการให้บริการของเว็บไซต์ E-Classified ที่ให้คนทั่วไปสามารถประกาศซื้อ-ขายสินค้าของตัวเองได้อย่างอิสระเสรี จึงทำให้เว็บไซต์ประเภทนี้ถือเป็นแหล่งที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมไปจับจ่ายซื้อสินค้า ผ่านเว็บไซต์เหล่านี้ อาทิ www.thaisecondhand.com , www.yelo.co.th , www.pantipmarket.com เป็นต้น













การเติบโตของผู้ให้บริการและซอฟต์แวร์ E-Commerce

เนื่องจากปีนี้ ธุรกิจต่างๆ เริ่มนำอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและทำการค้ามากขึ้น ดังนั้น หลายๆ ธุรกิจต่างเริ่มให้ความสนใจที่จะเปิดเว็บไซต์ของบริษัท หรือองค์กรของตนเองเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการของตนผ่านเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลสะท้อนทำให้ตลาด การรับพัฒนาเว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์ประเภทเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องการนำสินค้ามาขายผ่านเว็บไซต์สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์เลย เช่น quickweb.tarad.com หรือ www.yoursme.com ระบบชำระเงินสำเร็จรูปพร้อมใช้
การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตถือเป็นวิธีการชำระเงิน ที่เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ หรือช้อปปิ้งมอลล์ ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ แต่การนำระบบชำระผ่านบัตรเครดิตมาใช้ในสมัยก่อน จะต้องติดต่อกับทางธนาคารซึ่งมีกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย ทำให้การนำระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตบนเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ลำบาก แต่สำหรับปีที่ผ่านมา มีผู้ให้บริการรับบริการเป็นตัวกลางในการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตมากขึ้นหลายๆ แห่ง ได้แก่
http://www.ecommercepay.com, http://www.taradpay.com, http://www.thaiepay.com เป็นต้น โดยบริการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการขายสินค้าโดยสามารถชำระผ่านบัตรเดรดิตได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับทางธนาคารเลย เพราะผู้ให้บริการต่างๆ เหล่านี้ จะทำหน้าที่ช่วยและจัดทำระบบการชำระเงินสำเร็จรูปพร้อมใช้ จึงทำให้การซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น และทำให้จำนวนเว็บไซต์ที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเพิ่มจำนวนมากขึ้นในปีที่ผ่านมา สำหรับในปีนี้ คงจะได้เห็นเว็บไซต์ต่างๆ ได้นำระบบชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ เช่น ระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ M-Pay ของทาง AIS หรือระบบการชำระเงินผ่านทาง E-Mail ของทาง Paysbuy.com (คล้ายรูปแบบของ PayPal.com) ซึ่งจะทำให้การจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มีความสะดวกมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ

สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)

Topics


ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ
ลักษณะการปฏิบัติการของสำนักงานอัตโนมัติ
ระบบที่นำมาใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ
การพิจารณาตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้
สภาพแวดล้อมของสำนักงานอัตโนมัติ
อาคารอัจฉริยะ



ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ



กระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาช่วยคนในสำนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ต่างๆ
การจัดระบบการดำเนินงานภายในสำนักงานด้วยระบบอัตโนมัติทั้งหมด โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยสำคัญ
เทคโนโลยีหลักสำหรับงานสำนักงานอัตโนมัติมี 3 ประเภท คือ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
เทคโนโลยีสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดที่ทำสำเนาได้หลายชุด เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
เทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่ โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านดาวเทียม



วัตถุประสงค์และประโยชน์ของสำนักงานอัตโนมัติ



วัตถุประสงค์

ต้องการความสะดวก
ต้องการส่งผ่านสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
ลดปริมาณคนงาน
ลดปริมาณงานด้านสารสนเทศ
ต้องการความยืดหยุ่น
สามารถขยายงานต่อไปได้ในอนาคต



ประโยชน์


ได้ข้อมูลรวดเร็วทันกับความต้องการ
ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องมากขึ้น
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
เพิ่มประสิทธิภาพด้านการติดต่อสื่อสาร ได้ทั้งตัวอักษร ภาพ และเสียง


ลักษณะการปฏิบัติการของสำนักงานอัตโนมัติ



การรับข้อมูลเข้าในระบบสำนักงานอัตโนมัติ
การจัดการประมวลผลข้อมูล
การเตรียมนำข้อมูลออก
การส่งข้อมูลออกจากระบบสำนักงานอัตโนมัติ


ระบบที่นำมาใช้ในสำนักงานอัตโนมัติ



การเก็บและค้นหาข่าวสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic filing & retrieval)
การส่งข่าวสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail)
การจัดทำระบบประมวลผลคำ (Word processing) และการวางรูปแบบเอกสาร (Document formatting)
การจัดระบบช่วยบริหาร (Administrative service)
การติดต่อกับระบบสื่อสารข้อมูลหรือสถานให้บริการทางด้านข้อมูลอื่น (Interfaces to data processing, voice information & communication services)


การพิจารณาตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้



ผู้ดำเนินการติดตั้งระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ทีมงานเฉพาะกิจขององค์การ
ที่ปรึกษา
ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา



ปัจจัยที่ต้องพิจารณา


การจัดการเอกสารในสำนักงาน
ปริมาณงานที่พิมพ์และความยาว
เวลาที่ใช้ในการพิมพ์ เวลาที่ต้องการให้แล้วเสร็จ
ปริมาณเอกสารและสำเนา
ปริมาณงานที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์
จำนวนพนักงาน
ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
การวิเคราะห์ระบบสำนักงานทั้งระบบ
โครงสร้างของระบบสำนักงาน
ผังของสำนักงาน
หน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของแบบฟอร์มที่ใช้
หน้าที่ของงานแต่ละอย่าง


สภาพแวดล้อมของสำนักงานอัตโนมัติ



ระบบแสงสว่าง
แสงที่สว่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
มีการป้องกันแสงกระทบหน้าจอ
ระบบควบคุมไฟฟ้า
เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Voltage stabilizer) แก้ปัญหาไฟตก ไฟเกินและปรับกระแสไฟฟ้าให้มีแรงดันสม่ำเสมอ
เครื่องรักษาสภาพไฟฟ้า (Line conditioner) ป้องกันและขจัดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า จากการเปิดปิดสวิตซ์ไฟ หรือฟ้าผ่า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Uninterruptible power system, UPS) ใช้กรณีไฟดับ
ระบบปรับอากาศ
ระบบป้องกันอัคคีภัย
ระบบการเดินสายเคเบิลและระบบการยกพื้นระดับ
ห้องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องต่อสารเคเบิลมากมาย การยกพื้นระดับจึงเป็นวิธีการจัดการกับสายเคเบิลต่างๆที่รกรุงรังและเป็นอันตรายไว้ใต้พื้น และต่อปลั๊กขึ้นมาในตำแหน่งที่ต้องการ


อาคารอัจฉริยะ



เป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีทันสมัยของระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และระบบอาคารอัตโนมัติ รวมทั้งระบบย่อยๆที่ทำหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน ความปลอดภัย ความสะดวกสบายของคนในอาคาร และความคล่องแคล่วต่อการดำเนินธุรกิจในยุคสมัยใหม่ที่ต้องพร้อมต่อการแข่งขันทุกรูปแบบ


ระดับของอาคารอัจฉริยะ



ระดับ 0 คืออาคารธุรกิจที่มีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติที่ควบคุมระบบต่างๆไม่มากนัก และมีคอมพิวเตอร์ใช้งานอย่างอื่น แต่ระบบทำงานแยกจากกันโดยสิ้นเชิง
ระดับ 1 คืออาคารอัจฉริยะระดับเล็กที่สุดโดยมีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติที่ควบคุมระบบต่างๆไม่มากนักและเชื่อมกับระบบอื่นๆอย่างง่ายๆ และมีระบบ LAN ระหว่าง PC
ระดับ 2 คืออาคารอัจฉริยะระดับกลาง โดยมีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติและเชื่อมกับระบบอื่นๆทั้งทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งมีระบบ LAN เชื่อมต่อกับระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ระดับ 3 คืออาคารอัจฉริยะระดับสูงสุด เป็นการเชื่อมโยงระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ระบบสำนักงานอัตโนมัติและระบบโทรคมนาคมเข้าด้วยกันทั้งหมด

เทคโนโลยีของอาคารอัจฉริยะ



ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
Point of sales
CAD/CAM
Electronic mail
Public service information
Software package



ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ระบบชุมสายโทรศัพท์ตู้สาขาแบบดิจิตอล
ระบบโทรสารอัตโนมัติ
ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ
Teleconference
Video conference
ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม


เทคโนโลยีของอาคารอัจฉริยะ


ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation)
ระบบควบคุมอาคาร
ระบบปรับอากาศและความชื้นในห้อง
ระบบควบคุมลิฟท์อัตโนมัติ
ระบบโครงสร้างอาคาร
ระบบสื่อสาร
การเดินสายไฟฟ้า
การจัดสภาพแวดล้อมในอาคาร
การออกแบบทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่ใช้สอยของอาคาร
มุมพักผ่อน
เฟอร์นิเจอร์
การวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ

ระบบรักษาความปลอดภัย


โทรทัศน์วงจรปิด
ระบบตรวจจับบริเวณอาคาร
ระบบควบคุมที่จอดรถ
ระบบขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว
ระบบ Access Card
ระบบตรวจสอบเพลิงไหม้และเตือนภัย
ระบบตรวจสอบน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำสำหรับป้องกันอัคคีภัย
ระบบตรวจสอบคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นจอดรถ
ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว
ระบบตรวจสอบแรงดันและการไหลของน้ำในอาคาร




วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข้อควรพิจารณาในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติใช้ในสำนักงาน

ข้อควรพิจารณาในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ในสำนักงานมีดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
2. การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติ
3. การจัดหาอุปกรณ์และระบบอัตโนมัติ
4. การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาติดตั้งในสำนักงาน
5. การประเมินผลและบำรุงรักษาระบบ

การวิเคราะห์ความต้องการของบุคลากรในองค์กร
เป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมการหาข้อมูลโดยการสอบถามหรือสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกี่ยวกับความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคในการทำงานเป็นสาเหตุมาจากเครื่องมือเครื่องใช้หรือไม่ การเก็บข้อมูลในขั้นตอนนี้ควรให้ผู้ตอบแสดงความเห็นและความพึงพอใจต่อการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ สามารถสนองความต้องการของพนักงานได้หรือไม่ ปัญหาจะได้รับการแก้ไขมากน้อยเพียงใดผู้ใช้หรือพนักงานมีความต้องการสำนักงานอัตโนมัติหรือไม่

การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติที่ต้องการ
เมื่อได้สอบถามความต้องการเครื่องใช้สำนักงานอัตโนมัติแล้ว ได้รับการยอมรับจากพนักงานส่วนใหญ่ ควรได้รับการออกแบบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสำนักงานอัตโนมัติเกี่ยวกับระบบที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในงานสำนักงานได้เช่น ระบบประมวลคำ ระแบบแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ระบบคอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยง


การจัดหาอุปกรณ์
เมื่อทราบแล้วว่าสำนักงานต้องการอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติใดบ้าง ก็ทำการจัดหาโดยการศึกษาหาข้อมูลจากตัวแทนจำหน่ายหลายๆ แห่ง เพื่อทราบข้อมูลข้อได้เปรียบเสียเปรียบของอุปกรณ์แต่ละชนิดนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วจัดหาหรือจัดซื้ออุปกรณ์ที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับลักษณะงานและงบประมาณ อาจกระทำได้โดยการซื้อหรือการเช่าก็ได้ โดยพิจารณาการบริหารหลังการขาย การฝึกอบรมที่จะจัดให้ผู้ซื้ออุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ

การจัดเตรียมสถานที่ติดตั้งและการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน
เมื่อได้พิจารณาจัดหาอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติแล้ว ในช่วงการติดตั้งต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อม เช่น การเดินสายไฟใหม่ การเดินทายเคเบิลเชื่อมโยงจุดต่างๆ การจัดซื้อซอฟต์แวร์ รวมทั้งมีการฝึกอบรมพัฒนาพนักงานให้สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัตินั้นได้อย่างเต็มที่ มีการสอนวิธีใช้ การสาธิตโดยผู้ขายจัดให้แก่สำนักงานผู้ซื้ออุปกรณ์นั้น

การประเมินผลและการบำรุงรักษาระบบ
เมื่อได้นำอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติมาใช้ภายในสำนักงานแล้ว ควรมีการประเมินผลงานว่ามีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ เพียงใด เกิดปัญหาขัดข้องอะไรหรือไม่ พนักงานยังเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อสำนักงานอยู่หรือไม่ และค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปเพื่อการนี้สอดคล้องกับผลงานที่ทำได้หรือไม่ เมื่อทราบปัญหาแล้วควรทำการปรับปรุงระบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ใหม่ การยกเลิกระบบที่ไม่จำเป็น หรือการขยายอุปกรณ์เพิ่มขึ้น การเพิ่มลูกข่ายเพื่อความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการทำงานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
การทำงานในสำนักงาน ถ้านำมาวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว จะพบว่าทุกคนทำงานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร (information) ข้อมูลข่าวสารนั้นอาจจะมาจากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบ เช่น ตัวเลข (Data) ตัวอักษร (Text) รูปภาพผังและกราฟ (Image) ตลอดจนเสียง (Voice) ที่ใช้ในการสื่อสารส่งข่าวให้กันและกัน ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งาน ของสำนักงานดำเนินไปได้ด้วยดี การจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ
คือ
1. การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร
2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
3. การตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลข่าวสารเป็นพื้นฐานของการพิจารณา

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ความเป็นมาของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าพัฒนาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นผลทำให้โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดของโลกก็สามารถติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกันได้เสมือนนั่งอยู่เคียงข้างกัน พัฒนาการของการสื่อสารกำลังทำให้วิถีการทำงานบางอย่างของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้เองธุรกิจที่แข่งขันจำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก เพื่อการตัดสินใจ และเพื่อให้บริการที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว
ยุคของสารสนเทศได้ก้าวหน้าและเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เราเริ่มรู้จักคำว่าเอทีเอ็มการใช้เครดิตการ์ด การสื่อสารผ่านบูเลตินบอร์ด อิเล็กทรอนิกส์เมล์ และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังได้ยินได้ฟังคำว่าโอเอ (OA) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบตึกหรืออาคารอัจฉริยะ เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีกำลังก้าวเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว
หากมองให้ลึกลงไปอีกสักนิดพบว่า บนความสำเร็จของเทคโนโลยีทางด้านข่าวสารเกือบทุกประเภท อยู่บนฐานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล จนมีผู้กล่าวว่ายุคสารสนเทศในปัจจุบันฝากไว้กับเทคโนโลยี C & C (Computer and Communication)